ผมสนใจและมีความเชี่ยวชาญงานวิจัยด้านฟิสิกส์ และศึกษาด้านวัสดุศาสตร์ควบคู่ไปด้วย โดยใช้แสงซินโครตรอนในการวิเคราะห์ขั้นสูงในหัวข้อต่าง ๆ
แรงจูงใจนั้นมาจากตอนเรียนปริญญาเอกได้ศึกษาวิจัยด้านแสงซินโครตรอน วัสดุสามารถใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนได้มากมาย ใช้แสงซินโครตรอนศึกษาโครงสร้างและที่มาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุที่คุณสมบัติแตกต่างกัน
เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า ทางแม่เหล็ก ทางแสง และอื่น ๆ นั้น มีที่มาอย่างไรในเชิงวิทยาศาสตร์พื้นฐาน นอกจากนี้ การนำไปต่อยอดทางภาคอุตสาหกรรมนั้น ต้องพิจารณาโจทย์ว่าเขาสนใจอะไรเป็นพิเศษ เช่น แสงซินโครตรอน ซึ่งเรามีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว เราจะตั้งโจทย์อย่างไรให้เข้ากับสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ
ซึ่งงานวิจัยของผมสามารถแสดงถึงศึกยภาพเครื่องมือแสงซินโครตรอนว่าใช้ทำอะไรได้บ้าง เราต้องพิจารณาว่าภาคอุตสาหกรรมต้องการประโยชน์อะไร และหาโจทย์ที่เข้ากัน เพื่อนำเครื่องมือนั้นมาตอบโจทย์ สิ่งที่ผมอยากนำเสนอและมีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ วัสดุกักเก็บพลังงาน แบตเตอรี่ และคาปาซิเตอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีงานวิจัยอยู่บ้างในขั้นพื้นฐาน เช่น โซล่าเซลล์ สามารถปรับเปลี่ยนวัสดุบางส่วนให้มีสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีขึ้น การไหลของอิเล็กตรอนดีขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทำให้โซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพดีขึ้นในภาพรวมได้ ส่วนวัสดุกักเก็บพลังงานนั้นคล้าย ๆ กัน โดยใช้วัสดุที่สามารถจุได้มากขึ้นโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านวัสดุเพิ่มขึ้น ใช้วัสดุน้อยแต่กักเก็บได้ดีมากขึ้น เป็นสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้และทำต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้เครือข่ายเกี่ยวกับงานวิจัยของผมนั้นส่วนใหญ่เป็นที่ Stanford University และ Advanced Light Source at Berkeley ส่วนกลุ่มเพื่อนที่เรียนจบจากกลุ่มเดียวกันที่ Stanford University มีที่จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีที่ Fudan University และมีเครือข่ายตอนไปทำ postdoc ที่ University of St Andrews